วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลงานเจนจิรา ประวัติ ซูฮาร์โต



ซูฮาร์โต

ประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง12 มีนาคม พ.ศ. 2510 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
สมัยก่อนหน้า      ซูการ์โน
สมัยถัดไป             ยูซุฟ ฮาบิบี

ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด         8 มิถุนายน พ.ศ. 2464
ยอร์กยากาตา อินโดนีเซีย
เสียชีวิต 27 มกราคม พ.ศ. 2551 (86 ปี)
จาการ์ตา อินโดนีเซีย
พรรคการเมือง     Golkar
คู่สมรส  Siti Hartinah
ศาสนา   อิสลาม

ซูฮาร์โต (อังกฤษ: Suharto, 8 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 27 มกราคม พ.ศ.2551)เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2ของระเทศอินโดนีเซี และเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานที่สุดของประเทศเป็นเวลา 32 ปี โดยได้รับฉายาจากนานๆชาติโดยเฉพาะประเทศโลกตะวันตกว่า "The Smiling General"
ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งปรธานาธิปดี ซูฮาร์โตเป็นผู้นำทางทหารในยุคที่อยู่ใต้การปกครองของ ญี่ปุ่นและฮอลันดา เรื่อยมาจนได้รับยศพลตรี ซูฮาร์โตมีบทบาทมากจากเหตุการณ์ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ในการเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 30กันยายน ค.ศ.1965จนได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากซูการ์โนในปี 1968 จนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังจากการเดินขบวนต่อต้านจากนักศึกษาและประชาชน



"เขาเป็นลูกชาวนาในเกาะชวา ในปี 1921 เขาเข้าฝึกการเป็นทหารกับกองทัพดัชและต่อมาเขาได้เข้าไปทำงานกับกองทัพของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกองทัพแห่งอินโดนีเซียเพื่อต่อต้านการเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งของดัช  หลังจากประเทศนี้ได้รับเอกราชในปี 1949 เขาได้เติบโตในหน้าที่การงานด้านทหารเป็นอย่างมากและได้รับการไว้วางใจจากประธานาธิบดีซูการ์โนเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นในปี 1965 มีนายพลหัวซ้ายได้ถูกสังหารหลายคน ขณะเดียวกันนั้นซูฮาร์โตก็ได้กุมอำนาจทางทหารเพิ่มขึ้นก่อนที่จะเขี่ยอดีตผู้ก่อนตั้งอินโดนีเซียอย่างซูการ์โนออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นเขาก็เริ่มใช้นโยบายกฎระเบียบใหม่ของเขา และการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ก็ได้เริ่มขึ้น  ได้มีรายงานจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่ามีประชากรประมาณ 500,000-1,000,000 คนถูกฆ่าอย่างทารุน  แต่อย่างไรก็ตามในช่วงการบริหารของเขาเขาได้ทำให้ประเทศมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากจนเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนจากนอกประเทศ

ในปี 1975 เขาได้ให้ทหารบุกยึดติมอร์ตะวันออกตามแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์เพื่อสนับสนุนตะวันตก  และคาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ100,000 คนในการยึดครองตลอดช่วงสองทศวรรษนี้ ถึงแม้จะมีเงินทองหลั่งไหลสู่อินโดนีเซียเป็นอย่างมาก  แต่เงินส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในวังวนแห่งการคอรัปชั่นที่กำขยายตัวกลืนกินประเทศนี้อยู่  โดยคนส่วนใหญ่จำนวนมากมิได้รับผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตดังกล่าวเท่าควร และแล้วเมื่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1997 ทำให้อินโดนีเซียทรุดลงไปอย่างมากประกอบกับมีกระแสต่อต้านการปกครองของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเขาจำต้องลงจากอำนาจที่เขาถือครองอย่างยาวนานถึงสามทศวรรษเมื่อ เดือนพฤษภาคม 1998


เมื่อไม่มีอำนาจความจริงหลายอย่างที่ซ่อนอยู่ก็ได้เปิดเผยออกมา ข้อกล่าวหาหลักๆที่เขาได้รับและต้องขึ้นสู่ศาลก็คือเรื่องการคอรัปชันและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ถึงแม้อย่างแรกจะไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ก็ตาม(ทางการอินโดฯ)ความร่ำรวยมหาศาลของครอบครัวเขาก็ยังเป็นที่จับตา หลังจากเขาหมดอำนาจเขาก็ต้องเข้าๆออกๆเพื่อทำการรักษาสุขภาพที่ย่ำแย่  แม้ว่าจะต้องมีคดีความที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเขาก็มิเคยได้ถูกนำตัวขึ้นศาลแม้แต่เพียงครั้งเดียว  เนื่องมาจากศาลสูงแห่งอินโดนีเซียลงความเห็นว่าเขาป่วยอย่างถาวรและไม่เหมาะสมที่จะมาขึ้นศาล

เมื่อในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเขาได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเข้ารักษาตัวตั้งแต่นั้น  ถึงแม้ต่อมาเขาได้ทำให้หลายคนประหาดใจเมื่อเขาได้ฟื้นจากอาการโคมาจนแพทย์ที่ทำการรักษาเตรียมตัวที่จะให้เขาเดินทางกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้  แต่แล้ววันเวลาบนโลกใบนี้ต้องหมดไป คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าเขานี่แหละเป็นผู้สร้างอินโดนีเซียให้เจริญก้าวหน้างอย่างที่สุด และเขาคนเดียวกันนี้ที่ทำให้มันแย่ลงไปเช่นเดียวกัน  ถึงแม้เขาจะไม่ได้รับการพิพากษาคดีความต่างๆที่เขามีติดตัวในโลกนี้  ทว่าแน่นอนที่สุดเขาก็ต้องได้รับการสอบสวนพิพากษาในสิ่งที่เขาได้ทำเอาไว้ในโลกหน้าอย่างแน่นอน




Posted by P.H.S. , ผู้อ่าน : 757 , 00:12:13 น.   

         อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตจอมเผด็จการปกครองประเทศด้วยกำปั้นเหล็กมานาน 32 ปี ถึงแก่อนิจกรรมแล้วด้วยวัย 86 ปี เนื่องจาก หัวใจ ตับ ปอดล้มเหลว ความดันเลือดลดลง ในขณะที่อดีตประธานาธิบดีผู้นี้ถูกกล่าวหาว่า เป็นจอมโกงกินแห่งศตวรรษ ยักยอกเงินหลายพันล้านดอลลาร์ และรัฐบาลอินโดฯ กำลังฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1,400 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดรัฐบาลอินโดฯ ประกาศลดธงชาติครึ่งเสา 7 วัน เพื่อไว้อาลัยแล้ว

      เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ซูฮาร์โตอดีตประธานาธิบดี แห่งอินโดนีเซีย ถึงแก่อนิจกรรมแล้วด้วยวัย 86 ปี สาเหตุมาจากอวัยวะภายในล้มเหลว ทั้งหัวใจ ตับ ปอด หลังจากที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเปอร์ตามินา มาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา โดยอดีตประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ได้ล่วงลับเมื่อเวลา 13.10 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งก่อนที่อดีตประชาธิบดีจะล่วงลับ ลูกทั้ง 6 คน ได้รีบมาเยี่ยมดูอาการหลังจากที่ทราบว่าพ่อมีอาการทรุดหนัก ทั้งนี้ ซูฮาร์โต ล้มป่วยลงจากอวัยวะหลายชิ้นส่วนล้มเหลวครั้งแรกเมื่อสัปดาห์เศษที่ผ่านมา หลังจากนั้นอาการกลับดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และแพทย์บอกเมื่อวันเสาร์ ที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า ซูฮาร์โตสามารถหายใจได้เองแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเครื่องช่วยหายใจนั้นเป็นเพียงส่วนเสริม หากอาการแย่ลงเท่านั้น



        อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ก้าวลงจากอำนาจหลังปกครองประเทศมายาวนานถึง 32 ปี ในปี ค.ส.1998 และถูกกล่าวหาว่า เป็นหนึ่งในผู้โกงกินแห่งศตวรรษ กรณียักยอกเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ให้กับตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนพ้องขณะอยู่ในอำนาจ อย่างไรก็ตาม อดีตผู้นำจอมเผด็จการของอินโดนีผู้นี้ ก็ไม่เคยถูกนำตัวเข้าสู่การพิจารณาคดีคอรัปชั่นแต่อย่างใด โดยอ้างเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสุขภาพทำให้ยังไม่พร้อม ในขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก ซูฮาร์โตเป็นเงินจำนวน 1,400 ล้านดอลลาร์ ในข้อหาใช้เงินมูลนิธิที่เขาเป็นประธานผิดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ซูฮาร์โตเคยถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2006 เนื่องจากมีอาการเลือดออกในลำไส้ และต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานเกือบเดือน ต่อมามีรายงานว่า ศพของ ซูฮาร์โตได้ถูกเคลื่อนย้ายจากโรงพยาบาลเปอร์ตามินา ในกรุงจาการ์ตา เมื่อเวลา 14.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น ไปยังบ้านพักของเขาในเขตเมนเต็งของกรุงจาการ์ตาแล้วโดยบรรดาผู้มีเกียรติเตรียมเดินทางไปร่วมเคารพศพที่บ้านพักดังกล่าวจำนวนมาก ส่วนประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ขอสวดอ้อนวอนในนามของประเทศ รัฐบาลและประชาชนให้วิญญาณของ ซูฮาร์โตซึ่งถึงแก่อนิจกรรมในวัย 86 ปี ไปสู่สุคติ พร้อมกับได้สั่งให้สำนักงานข้าราชการลดธงชาติลงครึ่งเสาเพื่อร่วมไว้อาลัยรวม 7 วัน ในขณะที่ประชาชนหลายร้อยคนแออัดยัดเยียดกันบริเวณข้างถนน ซึ่งปิดการจราจรนับตั้งแต่ข่าวการถึงแก่อนิจกรรมของอดีตผู้นำรายนี้เผยแพร่ออกไป ส่วนศพของ ซูฮาร์โตรายงานแจ้งว่า จะถูกฝังที่สุสานประจำครอบครัวบนเกาะชวา ห่างจากเมืองโซโลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร และพิธีจะมีขึ้นในเช้าวันจันทร์ที่ 28 ม.ค.นี้ สำหรับพื้นที่บริเวณด้านหน้าบ้านพักของอดีตประธานาธิบดี ถูกเว้นไว้เพื่อเตรียมไว้ให้บรรดาผู้มีเกียรติและญาติๆ จะมาเคารพศพของซูฮาร์โตในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้ ในจำนวนนั้นประกอบด้วยประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน และรองประธานาธิบดียูซุฟ คัลลา ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่าทั้งสองคนจะเดินทางมาถึงในเวลาประมาณ 16.00 น.

        ส่วน ประวัติของ ซูฮาร์โตเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1921 จากครอบครัวยากจน บิดาเป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อยในชวากลาง เขาเข้ารับราชการทหารตั้งแต่อายุ 19 ปี ที่ยศสิบโทช่วงที่อินโดนีเซียซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ ขณะที่ถูกญี่ปุ่นรุกรานในปี 1942-45 ต่อมาเขาเข้าร่วมกับนักรบกองโจรอินโดนีเซียต่อต้านกองทัพเนเธอร์แลนด์ ซูฮาร์โตก้าวสู่อำนาจด้วยการนำกองทัพก่อรัฐประหารนายพลซูการ์โน ในปี 1965 “ซูฮาร์โตวางและดำรงฐานอำนาจการปกครองส่วนกลางผ่านสายทหาร และการใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้อินโดนีเซียในช่วงสงครามเย็นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตะวันตกทั้งเชิงเศรษฐกิจและการทูต ส่งให้อินโดนีเซียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างแข็งแกร่ง แต่อีกด้านหนึ่งการปกครองของ ซูฮาร์โตก็นำไปสู่การกวาดล้างชาวอินโดนีเซียที่เป็นคอมมิวนิสต์ รวมถึงชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนหลายแสนคน และออกกฎหมายคว่ำบาตรพรรคคอมมิวนิสต์และชาวจีนที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ
         จนกระทั่งทศวรรษที่ 1990 การปกครองแบบเผด็จการและถูกกล่าวหาว่ามีการคอรัปชั่นอย่างมโหฬารนำไปสู่ความไม่พอใจของคนในประเทศ โดยเฉพาะหลังยุควิกฤติค่าเงินในเอเชียกดให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียตกต่ำลง กระทบทั้งคุณภาพชีวิตประชาชนและอำนาจบริหารทั้งทางทหาร การเมืองและสถาบันทางสังคม นำไปสู่การเดินขบวนประท้วงของคนในประเทศบีบให้ ซูฮาร์โตลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1998 ในที่สุด



ซูฮาร์โต: ผู้นำเศรษฐกิจอาเซียน

ความรู้สึกชาตินิยมดำรงอยู่โดยทั่วไปในความรู้สึกของคนอินโดนีเซีย เนื่องจากตั้งแต่สมัยอาณานิคม เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคนี้เกือบทุกประเทศ อินโดนีเซียเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ ประกอบกับในอดีต ฮอลแลนด์ได้ใช้จีนเสมือนเป็นพ่อค้าคนกลางในการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรจำนวนมากถูกดูดซับไปยังประเทศเหล่านี้ ทำให้ความยากลำบากเกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศ จากเหตุการณ์ทั้งหมด ทำให้เกิดขบวนการปลดแอกเพื่อต่อสู้กับประเทศอาณานิคมเหล่านั้น (รวมทั้งจีนด้วย) แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการแล้ว ตะวันตกก็ไม่ยอมรับและสนับสนุนอินโดนีเซียว่าเป็นประเทศเอกราชจริง

ยุคหลังอาณานิคมของประเทศอินโดนีเซียค่อนข้างขรุขระพอสมควร ทำให้พรรคของผู้นำในขณะนั้นคือซูการ์โน ต้องอาศัยเครื่องมือชาตินิยมในการสร้างชาติ มีระบบการเมืองแบบ guided democracy ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่มีการชี้นำจากผู้นำโดยตรง (ต้องอาศัยผู้นำที่เข้มแข็งและเป็นเผด็จการมาก) ความสัมพันธ์ระหว่าประเทศในตอนนั้นไม่ราบรื่นนัก โดยเฉพาะกับประเทศมาเลย์เซีย ที่อินโดนีเซียมองว่าเป็นตัวแทนของอาณานิคมตะวันตกที่ยังดำรงอยู่ในภูมิภาค ทำให้นโยบายต่างประเทศในช่วงนั้นเป็นนโยบายแบบเผชิญหน้า หรือ confrontasi จากเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศนั้น ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยาก นโยบายทางเศรษฐกิจในช่วงนั้นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ภัยคอมมิวนิสต์และความเข้มแข็งของจีนที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุค 1960 ทำให้พรรคคอมิวนิสต์ในอินโดนีเซียพยายามขึ้นมามีอำนาจภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดจลาจลและการใช้กำลังอยู่หลายที่หลายแห่ง ผู้นำคนใหม่ที่ขึ้นมาคือนายพลซูฮาร์โต ที่เป็นนักปฏิบัตินิยม (pragmatist)ด้วยความต้องการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศ ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาประเทศตะวันตกเพื่อสร้างความสงบสุขภายในประเทศ จะเห็นได้ว่าสังคมทางการเมืองระหว่างประเทศของอินโดนีเซียเปลี่ยนไป นั่นคือมองตะวันตกเป็นมิตรมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ทั้งที่ประเทศเคยบอบช้ำจากลัทธิอาณานิคมมาก่อน

การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคของซูฮาร์โต ในความเห็นของผม เชื่อว่าเป็นไปได้มากกว่าสมัยของซูการ์โน เพราะ ความมั่นคงภายในทั้งจากคอมมิวนิสต์เองหรือจากกลุ่มการเมืองอื่น ๆ เริ่มนิ่ง ประกอบกับตัวของซูฮาร์โตเองที่ pro ตะวันตกเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดชุดนโยบายที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัย model การพัฒนาอย่างตะวันตก โดยเชื่อว่า หากมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างตะวันตกแล้ว ความยากจนในประเทศก็จะลดลง การคุกคามของภัยคอมมิวนิสม์ก็สามารถลดลงได้ เรียกได้ว่ายุคของซูฮาร์โตคือยุคที่เรียกว่า NEW ORDER หรือระเบียบใหม่ของประเทศได้อย่างไม่ผิดนัก




ด้วยความเป็นนักปฏิบัตินิยมและนิยมชาติตะวันตกอย่างมากของผู้นำท่านนี้ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในมิติอื่น ๆ เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การมีสิ่งที่เรียกว่า national resilience หรือการที่เน้นการเพิ่มสวัสดิการของประชาชนในประเทศ พึ่งพาความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก การเพิ่มความร่วมมือในกรอบพหุภาคีมากขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือคือกรอบความร่วมมือ ASEAN เป็นเครื่องมือหลัก (และเรียกได้ว่าอินโดนีเซียใช้ ASEAN เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมาตลอด) รวมถึงการเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ ให้สัมปทานแก่นายทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ทรัพยากรในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติที่ประเทศมีอยู่มาก แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อวิจารณ์อยู่มากว่าการให้สัมปทานนั้นไม่โปร่งใสอยู่มาก (มีสถิติว่าซูฮาร์โตติดอันดับผู้นำที่คอรัปชั่นมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง) ในช่วงที่เศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ทำให้บทบาทของผู้นำท่านนี้ยิ่งชัดและมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในเวทีโลก ดังจะเห็นได้จากการเป็นผู้นำในเวทีความร่วมมือในภูมิภาคอย่าง ASEAN เอง หรือเวทีระดับโลกอย่าง NAM (Non-aligned movement กลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในสงครามเย็น) สำหรับบทบาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซูฮาร์โตมีภาพที่ชัดและทวีความสำคัญในการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจนหนึ่ง โดยใหอินโดนีเซียเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม APEC ครั้งที่สอง และออก Bogor Declaration ขึ้นในปี 1994 โดยประกาศว่าจะมีการทำ FTA ระหว่างประเทศสมาชิกภายในปี 2010 สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และภายในปี 2020 สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าบทบาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของซูฮาร์โตเริ่มชัดเจนขึ้น



          แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็นผู้นำของซูฮาร์โตก็ต้องหมดลง หลังจากเป็นประธานาธิปดีนานถึง 31 ปี เพราะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997 ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในตัวของรัฐบาลและผู้นำว่าไม่สามารถแก้ไขวิกฤติได้ ทำให้อำนาจทางการเมืองสิ้นสุดลง ช่วงเวลา 31 ปีของการครองความเป็นผู้นำของซูฮาร์โตนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงความเป็น พี่ใหญ่ ของผู้นำท่านนี้ได้ และคุณปการต่าง ๆ ที่ผู้นำท่านนี้ได้มอบไว้แก่ภูมิภาคเรา รวมถึงมิติทางเศรษฐกิจอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วด้วย

www.learners.in.th/blogs/posts/127286
wikipedia.org/wiki/






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น