วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย



ในฐานะที่บ้านของดิฉันอยู่ใกล้อำเภอด่านซ้าย จ.เลย ดิฉันก็มีโอกาสได้ไปเที่ยวประเพณีผีตาโขน ซึ่งมีประชาชนไปเที่ยวชมงานทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ภายในงานมีขบวนงานผีตาโขนเป็นจำนวนมาก มีทั้งหน้ากากผีตาโขนของเด็กและผู้ใหญ่ เป็นสินค้าจำหน่าย มีคนสอนทำหน้ากากผีตาโขน ของที่ระลึก เพื่อเป็นของฝาก สนุกมาก ๆ ถ้ามีัโอกาสอยากให้ทุกคนไปเที่ยวกันดูนะค่ะ รับรองไม่ผิดหวัง ดิฉันอยากให้คนไทยได้รู้จักประเพณีดีๆ ดิฉัน จึงขอนำประเพณีผีตาโขน มาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อย แก่ผู้ที่สนใจนะค่ะ


ประเพณีผีตาโขน


ผีตาโขน เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือน 7  ซึ่งมักจัดมากกว่าสามวันในบางช่วงระหว่างเดือนมีนาคม และกรกฎาคม โดยจัดขึ้นในวันที่ได้รับเลือกให้จัดขึ้นในแต่ละปีโดยคนทรงประจำเมือง ซึ่งงานบุญประเพณีพื้นบ้านนี้มีชื่อเรียกว่า บุญหลวง  โดยแบ่งออกเป็นเทศกาล ผีตาโขน, ประเพณีบุญบั้งไฟ และงานบุญหลวง (หรือ บุญผะเหวด)
ผีตาโขน นั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดกชาดกในทางพระพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระเวสสันดร และพระนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองหลวง บรรดาสัตว์ป่ารวมถึงภูติผีที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ได้ออกมาส่งเสด็จด้วยอาลัย
ซึ่งวันแรกจะเป็นเทศกาลผีตาโขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันรวม (วันโฮม) โดยจะมีพิธีเบิก พระอุปคุตต์ ในบริเวณระหว่างลำน้ำหมันกับลำน้ำศอก ส่วนวันที่สองของเทศกาลดังกล่าวจะมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาพร้อมด้วยเครื่องแต่งกายที่หลากหลาย รวมถึงการแข่งขันเต้นรำตลอดจนขบวนพาเหรด ส่วนในวันที่สามและวันสุดท้ายจะมีการให้ชาวบ้านฟังเทศน์ ทั้งนี้ ผีตาโขนยังได้รับการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ และฉายาประจำทีม สโมสรฟุตบอลเลย ซิตี้ เช่นกัน
และประเพณียังคงมีความเชื่อกันว่า สำหรับคนที่เล่นหรือมีการแต่งตัวเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป และรอจนถึงปีหน้าจึงค่อยทำเล่นกันใหม่

ประวัติและความเป็นมา 
          ปราชญ์ท้องถิ่น ครูภูมิปัญญาและนักการศึกษาหลายท่านที่ศึกษาวิจัยเรื่องราวของผีตาโขนในแง่มุมต่างๆ ล้วนมีข้อสรุปตรงกันว่าประเพณีผีตาโขน เป็นการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงบูชาติดต่อกับผู้ชมดูการละเล่น คือ วิญญาณผีบรรพชน ที่กลุ่มชนชาติพันธุ์ไท-ลาว เชื่อถือร่วมกันว่าบรรพชน คือ ต้นตระกูลเผ่าพันธุ์ผู้ที่สร้างบ้านแปงเมือง บรรพชนเมื่อตายเป็นผี จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่น่าเกรงขาม มีอำนาจที่จะดลบันดาลให้ความอุดมสมบูรณ์ หรือความหายนะแก่บ้านเมืองได้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ เพื่อความอุดมสมบูรณ์พูนสุขของบ้านเมือง เมื่อถึงงานบุญประเพณีสำคัญ ๆ ตามฮีตประเพณี จึงจะต้องทำการละเล่นเต้นฟ้อนผีตาโขนเพื่อเซ่นสรวงบูชาให้เป็นที่ ถูกอกถูกใจแก่ผีบรรพชน การละเล่นผีตาโขนจึงเป็นการละเล่นที่มีมาแต่โบราณ และผ่านการ สืบทอดทางพิธีกรรมเป็นสายยาวจากรุ่นต่อรุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ผีตาโขนจึงเป็นการละเล่นส่วนหนึ่งในงานบุญหลวงของอำเภอด่านซ้าย หรือเมืองด่านซ้ายในอดีต นับเป็นการละเล่นที่นำพาให้เกิดความสนุกสนานและความบันเทิงเป็นหลัก เช่นกันกับการเล่นทอดแห ขายยา และทั่งบั้ง อันเป็นสีสันแห่งการเฉลิมฉลองในงานบุญหลวงและโดยเฉพาะในพิธีอันเชิญพระเวสสันดร และนางมัทรีเข้าเมือง ตามฮีตเดือนสี่ (บุญเผวส) ของชาวอีสาน ซึ่งชาวด่านซ้าย 


ได้รวมเอางานบุญฮีตเดือนสี่(บุญเผวส) ฮีตเดือนห้า (บุญสงกรานต์) ฮีตเดือนหก (บุญบั้งไฟ) และฮีตเดือนเจ็ด (บุญซำฮะ) มาจัดขึ้นพร้อมกันในช่วงเดือนเจ็ดของทุกปี ซึ่งมักจะอยู่ระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงช่วงต้นเดือนกรกฏาคม ทั้งนี้เจ้าพ่อกวน (ผู้นำทางจิตวิญญาณของท้องถิ่น)จะเป็นผู้กำหนดวันโดยผ่านพิธีการเข้าทรงล่วงหน้า คำว่า ผีตาโขน ตามความเห็นของเจ้ากวน (ถาวร เชื้อบุญมี) น่าจะมาจากการที่บรรดาผีเหล่านั้น สวมหน้ากากคล้ายลักษณะของโขนละคร แต่เดิมบางคนเรียกว่าผีตาขน แต่ก็หาความหมายไม่ได้ชัดแจ้ง และจากคำบอกเล่าของเจ้าพ่อกวนในขณะเข้าทรงว่า ผีตามคนมาในงานบุญพระเวส จึงเรียกผีตามคนต่อมาจึงเพี้ยนเป็นผีตาโขน จากการศึกษาวิจัยเรื่องพัฒนาการประเพณีผีตาโขน ของ สนอง อุปลาพบว่าประเพณีผีตาโขนเป็นการละเล่นที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณของผีบรรพชน สืบสานมาจากการละเล่นปู่เยอ ย่าเยอของชาวหลวงพระบาง แต่เนื่องจากการละเล่น ผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย ต้องผ่านพ้นกับกาลเวลาอันยาวนาน และฟันฝ่ากับระบบการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมกับคนหลากหลายกลุ่มชน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในชุมชน จึงมีการปรับเปลี่ยนผสมผสานให้เป็นการละเล่นที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย 


ประเพณีผีตาโขนกับวิถีชุมชน 
          จากพัฒนาการประเพณีผีตาโขนที่กล่าวมา ซึ่งเริ่มต้นจากการละเล่นที่เป็นองค์ประกอบของขนบธรรมเนียม ประเพณี มาบัดนี้การละเล่นผีตาโขน เป็นได้ทั้ง วิถีชีวิต อัตลักษณ์บ่งบอกชาติพันธุ์ สินค้า และกลไกของอำนาจ ที่จะส่งผลกำหนดทิศทางของวิถีชุมชนได้อีกด้วย ดังนี้


  1. ประเพณีผีตาโขนกับขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา จากการที่ชาวอำเภอด่านซ้ายจะต้องกระทำพิธีกรรมเกี่ยวกับองค์พระธาตุศรีสองรัก และพิธีกรรมเกี่ยวกับวิญญาณผี เจ้านาย ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามฮีต 12 อันได้แก่ ฮีตเดือน 4 บุญพระเวส ฮีตเดือน 5 บุญแห่พระวันสงกรานต์ ฮีตเดือน 6 บุญบั้งไฟ และฮีตเดือน 7 บุญซำฮะ การละเล่นผีตาโขนจึงมีส่วนส่งเสริมให้นำฮีตที่ขาดไป มาจัดหลอมรวมเป็นบุญเดียวกันเรียกว่า บุญหลวง โดยอาศัย ความสนุกสนานช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด จึงทำให้บุญที่เกิดจากการรวมกันนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ส่วนผลที่เกิดกับศาสนา มีส่วนส่งเสริมให้ศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชน ในแง่ทางธรรมะและการปฏิบัติทางศาสนา เสริมสร้างให้มีการผสมผสานการนับถือพุทธศาสนากับความเชื่อในวิญญาณของบรรพชนให้เกิดการบูรณาการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ชุมชนไม่มีความขัดแย้ง ทั้งยังเป็นกลไกอย่างหนึ่งที่ช่วยควบคุมสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย 
  2. ประเพณีผีตาโขนกับสังคมวัฒนธรรม จากการละเล่นผีตาโขน ที่เกิดจากความเชื่อในวิญญาณผีเจ้านายอันเป็นความเชื่อโดยการสั่งสมมาแต่สังคมบุพกาล ได้ก่อให้เกิดผลดีแก่สังคมอำเภอด่านซ้ายในทุกๆ ด้าน เช่น ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกัน ทำให้ชุมชนมีบรรทัดฐานและ ค่านิยมร่วมกัน รู้ว่าคนในสังคมมีสถานภาพและบทบาทที่แตกต่างกัน และมีส่วนในการอบรม ขัดเกลาจิตใจคนในสังคม ส่งผลให้วัฒนธรรมไทด่านซ้าย เช่น ภาษาท้องถิ่น จารีตประเพณี วิถีชีวิต ไม่เปลี่ยนแปลงสูญหายไป ทำให้รู้จักรากเหง้าและวัฒนธรรมของตนเอง และก่อให้เกิดความภูมิใจและผูกพันกับท้องถิ่น 
  3. ประเพณีผีตาโขนกับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หลังจากที่ได้รับการบรรจุให้เข้าในแผนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การละเล่นผีตาโขน ได้ส่งผลทางเศรษฐกิจอย่างสูงต่อชาวอำเภอด่านซ้าย โดยทำให้เกิดรายได้จากการจ้างงาน การบริการอาหารที่พักอาศัย การบริการขนส่ง และการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง แต่ก็มีข้อเสีย คือทำให้สินค้าและบริการต่างๆ ในเวลาต่อมามีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ส่วนในด้านการท่องเที่ยว ได้ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวแบบ โฮมสเตย์ขึ้น และยังสนับสนุนการท่องเที่ยวในด้านอื่นๆ ทั่วทั้งจังหวัดเลย เช่น ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ ภูเรือ ภูหลวง ภูกระดึง การท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม เช่น จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดโพธิ์ชัย พระธาตุดินแทนอำเภอนาแห้ว พระธาตุสัจจะอำเภอท่าลี่ เป็นต้น ประเพณีผีตาโขน เมื่อเป็นการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามแม้จะมีประโยชน์นานัปการ แต่ก็มีผลเสียคือก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นมีความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ทำให้ ค่านิยมของชาวอำเภอด่านซ้ายเจ้าของประเพณีผีตาโขนเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย


องค์ประกอบของผีตาโขน


ผีตาโขนใหญ่ 
ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่า ประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัวผีตาโขนชาย1ตัว หญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น คนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อนซึ่งต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อยเป็นเวลา3ปี

ผีตาโขนเล็ก ทุกคนไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน




หน้ากากผีตาโขน
           หน้ากากผีตาโขนเล็ก ทำจากส่วนที่เป็นโคนของก้านมะพร้าวและหวดนึ่งข้าวเหนียว โดยนำมาเย็บติดกันแล้วเขียนหน้าตา ทำจมูกเหมือนผี ส่วนชุดแต่งกายของผีมักมีสีฉูดฉาดบาดตา โดยอาจเย็บเศษผ้าเป็นเสื้อตัวกางเกงตัวหรือเย็บเป็นชุดติดกันตลอดตัวก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องคลุมร่างกายให้มิดชิด หน้ากากผีตาโขนสมัยดั้งเดิมจะทำจากหวดเก่าที่ใช้แล้ว ในส่วนที่ครอบศีรษะจะเย็บติดกับโคนของก้านมะพร้าว ส่วนที่เป็นใบหน้าจะใช้ไม้นุ่นทำจมูกสั้นคล้ายจมูกคน ใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ จะไม่ปรากฏลวดลายที่เด่นชัดเพราะเน้นให้หน้ากากมีความลึกลับน่ากลัว ส่วนหน้ากากผีตาโขนสมัยกลางนับตั้งแต่หน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนในปี พ.ศ.2531มีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยดั้งเดิม โดยนอกเหนือจากการนำหน้ากากผีตาโขนมาเล่นตามจุดประสงค์หลักดังที่กล่าวมาแล้ว ยังได้มุ่งการทำหน้ากากผีตาโขนเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และดึงดูดความสนใจ ตลอดจนเน้นผลทางธุรกิจจากนักท่องเที่ยว หน้ากากผีตาโขนในสมัยนี้จึงมีความสวยสดงดงามละเอียดและประณีตขึ้นจากเดิมหวดที่ใช้ครอบศีรษะจะใช้หวดใหม่ ส่วนใบหน้ากากผีตาโขนมีความยาวขึ้น รวมทั้งจมูกที่โค้งงอคล้ายงวงช้าง สีที่ใช้จะมีทั้งสีน้ำพลาสติก สีน้ำมันซึ่งให้ความมันวาวและคงทนด้านความสัมพันธ์ของหน้ากากผีตาโขนกับวิถีชุมชนอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย พบว่าหน้ากากผีตาโขนจะมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะมีความเชื่อว่าการจัดทำหน้ากากผีตาโขนเข้าร่วมแสดงในงานของทุกปีเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นการปล่อยผีสาง และยังปล่อยทุกข์โศกให้ไหลไปตามแม่น้ำด้วย ด้านระบบรัฐศาสตร์จะมีความสัมพันธ์ที่คนในท้องถิ่นแต่ละคน แต่ละหน่วยงานจะเข้าใจและทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองหรือของกลุ่มที่มีการแบ่งงานและหน้าที่กันทำหน้ากากผีตาโขนเพื่อเข้าร่วมแสดง โดยไม่มีการขัดแย้งกันในทางปฏิบัติก่อให้เกิดความสามัคคีของชุมชนด้านระบบวิทยาศาสตร์จะมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการแสดงออกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่รู้จักการนำเอาธรรมชาติมาจัดสร้างเป็นผลงาน พร้อมการปรับธรรมชาติให้มีความคงอยู่ในเชิงนิเวศน์ตลอดจนการดำเนินการทำ และผลิตหน้ากากผีตาโขนรูปแบบของจริงและรูปแบบของที่ระลึกนอกจากนี้หน้ากากผีตาโขนยังส่งอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึกของชาวจังหวัดเลย โดยส่วนรวมที่มีการใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์อันแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ในการรับรู้ของคนทั่วไปจะเข้าใจว่า หน้ากากผีตาโขน คือ สื่อศิลป์ที่แสดงออกทางความเชื่อเกี่ยวกับผี เกี่ยวกับความลึกลับน่ากลัวหรือสิ่งไม่ดี แต่อีกด้านหนึ่งหน้ากากผีตาโขนจัดทำว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมใจ ความพร้อมเพรียง ความสมัครสมานสามัคคีและความภาคภูมิใจ และการสืบสานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชุมชนให้ปรากฏแก่ชาวโลกสืบไป



หมากกะแหล่ง คือ เครื่องดนตรีรูปร่างคล้ายกระดิ่งหรือกระดึงแขวนคอวัว ผีตาโขนจะใช้หมากกะแหล่งแขวนติดบั้นเอวเมื่อเดินโยกตัวหรือเต้นเป็นจังหวะ ขย่มตัวสายสะโพกเสียงหมากกะแหล่งก็จะดังเสียงน่าฟังและน่าสนุกสนาน




ดาบไม้ เป็นอาวุธประจำกายผีตาโขนไม่ได้เอาไว้รบกัน แต่เอาไว้ควงหลอกล่อและไล่หยอกล้อสาวๆ และเด็กๆ จนต้องวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น ทั้งอายทั้งขำ บางรายร้องไห้แต่ไม่มีใครถือสา เพราะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา เหตุที่วิ่งหนีเพราะปลายดาบนั้นแกะสลักเป็นรูปอวัยวะเพศชายแถมทาสีแดงให้เห็นอย่างเด่นชัด การเล่นแบบนี้ไม่ถือเป็นเรื่องหยาบ หรือลามกเพราะมีความเชื่อกันว่าหากเล่นตลกและนำอวัยวะเพศชายหญิงมาเล่นมาโชว์ในพิธีแห่และงานบุญบั้งไฟจะทำให้พญาแถนพอใจ ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ 




ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
       http://allknowledges.tripod.com/phitakhon.html
       http://www.baanjomyut.com/library_2/phi_ta_khon/01.html
       http://www.google.com/search?hl=th-     TH&tbm=isch&q=%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99


วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบรายงาน


รูปแบบของรายงาน   
ส่วนประกอบตอนต้น  
                ส่วนเนื้อเรื่อหน้าปกรายงาน ควรเขียนด้วยรายมือตัวบรรจง ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาบรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
                คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ 
               คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน  
                สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน  
                บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ
               ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่ อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลงเชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง
ส่วนประกอบตอนท้าย บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แตง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

กระบวนการเขียนรายงานรูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้

        ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้
         1.    การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน
          2.    การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายแล
                                ขอบเขต ดังนี้จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
                                ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
           3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย บทนำหรือความนำซึ้งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา
            4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
             5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ (ถ้ามี )
             6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตาม

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ความหมายของรายงาน
        รายงาน  คือ  การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว   เช่น  การค้นคว้า ทางวิชาการ  การไปศึกษานอกสถานที่  การไปพักแรมค่ายเยาวชน  การประชุมกลุ่ม  การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ  เป็นต้น
        ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน
ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3 ส่วน ดังนี้
               1. ส่วนหน้า ประกอบด้วย หน้าปก ใบรองปกหน้า (กระดาษเปล่า) หน้าปกใน หน้าคำนำ หน้าสารบัญ
               2ส่วนกลาง ประกอบด้วย เนื้อเรื่อง เชิงอรรถ
               3. ส่วนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า) ปกหลัง

การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 
                1.1 การเขียนปก ให้เขียนชื่อเรื่อง และผู้เขียนรายงาน กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องใส่คำว่า ชื่อเรื่อง และผู้เขียนรายงาน 
                 1.2 การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น ส่วน ดังนี้
                                ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2 นิ้ว จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า ชื่อเรื่อง 
                                ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2 บรรทัดใส่คำว่าโดย และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า ผู้เขียนรายงาน
                                 ส่วนล่าง  ห้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน








2.  การเขียนคำนำ

                การเขียน คำนำอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่า



3.  การเขียนสารบัญ

                การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด




การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
             การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7




การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม

        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท



อ้างอิง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
   --- http://www.scribd.com/doc/6516049/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99





วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

สิ่งที่ได้รับจากการไปเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

       อาคารหลังนี้เริ่มก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2449 ในปลายรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 6 ปี และเปิดให้เช่าเป็นที่ตั้ง "ห้างยอนแซมสัน" ดำเนินธุรกิจขายผ้าฝรั่งและตัดชุดสูทสากลที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาเมื่อห้างยอนแซมสันเลิกกิจการ อาคารหลังนี้จึงเปลี่ยนเป็น "ห้างสุธาดิลก" ขายเครื่องก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 กรมโยธาเทศบาลจึงเช่าอาคารใช้เป็นที่ทำการของกรม จนกระทั่งกรมนี้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมโยธาธิการดังในปัจจุบัน

รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้ออกแบบโดยนายชาร์ล เบเกอแลง สถาปนิกชาวฝรั่งเศส-สวิส เป็นอาคาร 3 ชั้น อิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิค มีหอคอยยอดโดม ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นแบบกรีก-โรมัน ในปี พ.ศ. 2538 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารเป็นโบราณสถานแห่งชาติ อาคารกรมโยธาธิการหลังนี้ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเรียกว่า พิพิธภัณฑ์รัฐสภา อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อยู่บริเวณใต้พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าอาคารรัฐสภา จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์นำมาจัดแสดงและเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารที่ตั้งในปัจจุบัน

การจัดแสดง


ห้องจัดแสดงเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ห้องจัดแสดงเกี่ยวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะจัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

ห้องจัดแสดงชั้นที่ 1

ห้องจัดแสดงบริเวณชั้น 1 ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้แก่ พระราชประวัติส่วนพระองค์ ตั้งแต่ขณะทรงพระเยาว์ อภิเษกสมรส จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2527 รวมทั้ง การจัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ การตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ และพระราชกรณียกิจขณะเสด็จกลับมาประทับ ณ ประเทศไทยเป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ด้วย

ห้องจัดแสดงชั้นที่ 2

ห้องจัดแสดงบริเวณชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ขณะทรงพระเยาว์ เสด็จเข้าศึกษาที่ทวีปยุโรป ทรงพระผนวช ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (พระยศขณะนั้น) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงสละราชสมบัติ จนกระทั่ง เสด็จสวรรคตและการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ประเทศอังกฤษ จนกระทั่ง เชิญพระบรมอัฐิกลับมายังประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระจริยวัตรและพระราชนิยมส่วนพระองค์ในด้านต่าง ๆ เช่น ดนตรีกีฬา ภาพยนตร์

ห้องจัดแสดงชั้นที่ 3

ห้องจัดแสดงบริเวณชั้น 3 ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ฉลองพระองค์ พระมาลา ฉลองพระบาท รวมทั้ง พระราชกรณียกิจต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยที่สมบูรณ์ การพระราชทานปริญญาบัตแก่บัณฑิตที่จบการศึกษาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย พระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในพิธีฉลองพระนคร 150 ปี การเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ พระราชลัญจกรในพระองค์

การเข้าชม

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดให้เข้าชมวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ไม่เว้นวันนักขัตฤกษ์ โดยจัดเก็บค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท/คน เด็ก นักเรียน นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร ผู้พิการไม่เสียค่าเข้าชม วันหยุดราชการไม่เสียค่าเข้าชม สำหรับภาพยนตร์ทางพิพิธภัณฑ์เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมได้โดยสามารถสอบถามรอบและภาพยนตร์ที่จะฉายได้ล่วงหน้า

การเดินทาง

  • ทางรถยนต์
  • รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 15, 25, 44, 47, 59, 60
  • รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 39, 44, 59, 79, 511, 512
  • ทางเรือ เรือโดยสารคลองแสนแสบขึ้นที่ท่าเรือผ่านฟ้า




เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"


          วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30 พิพิธภัณฑ์ฯได้จัดงานเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" โดยวิทยากรคือคุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล และคุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่


















        เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"เมื่อ วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30งานเสวนาในหัวข้อ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" ที่จัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบวันอภิเษกสมรสครบ 95 ปีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการยกย่องพระเกียรติในเรื่องของ "สังคมผัวเดียวเมียเดียว" ในแบบสังคมตะวันตก จนส่งผลให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทย ที่ทรงดำรงพระองค์ด้วยพระราชหฤทัยมั่นคง ผูกพันจงรักภักดีในพระราชสวามีสืบมาตลอดพระชนม์ชีพ หลังจากรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2484 ซึ่งในวาระโอกาสพิเศษนี้ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เชื้อเชิญสองสาวเวิร์กกิ้งวูแมนอย่าง น.ส.วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราช และ บก.บห.นิตยสารลิซ่าอย่าง น.ส.พิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี มาร่วมบรรยายเสวนาความรู้ถึงวัฒนาการและบทบาทของผู้หญิงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่พิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นที่รู้จัก แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มาร่วมรับฟังช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 



 สิ่งที่ดิฉันได้รับในการไปเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" 

1.ทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น รู้เกี่ยวกับชีวิตของคนในอดีต ด้านการแต่งกาย การทำอาหาร รู้วิธีารศึกษาเล่าเรียนว่าเป็นแบบไหน

2. ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของประเทศชาติ กว่าจะเจริญติบโตมาได้ทุกวันนี้ บรรพบุรุษต้องเสียเลือดไปมากเท่าไหร่

3.ได้เห็นพระราชกรณีของ รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงทุ่มเท พระวรกาย เพื่อปฏิรูปประเทศชาติและบ้านเมือง ให้มีความเจริญก้าวหน้า






วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลงานเจนจิรา ประวัติ ซูฮาร์โต



ซูฮาร์โต

ประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง12 มีนาคม พ.ศ. 2510 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
สมัยก่อนหน้า      ซูการ์โน
สมัยถัดไป             ยูซุฟ ฮาบิบี

ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด         8 มิถุนายน พ.ศ. 2464
ยอร์กยากาตา อินโดนีเซีย
เสียชีวิต 27 มกราคม พ.ศ. 2551 (86 ปี)
จาการ์ตา อินโดนีเซีย
พรรคการเมือง     Golkar
คู่สมรส  Siti Hartinah
ศาสนา   อิสลาม

ซูฮาร์โต (อังกฤษ: Suharto, 8 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 27 มกราคม พ.ศ.2551)เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2ของระเทศอินโดนีเซี และเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานที่สุดของประเทศเป็นเวลา 32 ปี โดยได้รับฉายาจากนานๆชาติโดยเฉพาะประเทศโลกตะวันตกว่า "The Smiling General"
ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งปรธานาธิปดี ซูฮาร์โตเป็นผู้นำทางทหารในยุคที่อยู่ใต้การปกครองของ ญี่ปุ่นและฮอลันดา เรื่อยมาจนได้รับยศพลตรี ซูฮาร์โตมีบทบาทมากจากเหตุการณ์ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ในการเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 30กันยายน ค.ศ.1965จนได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากซูการ์โนในปี 1968 จนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังจากการเดินขบวนต่อต้านจากนักศึกษาและประชาชน



"เขาเป็นลูกชาวนาในเกาะชวา ในปี 1921 เขาเข้าฝึกการเป็นทหารกับกองทัพดัชและต่อมาเขาได้เข้าไปทำงานกับกองทัพของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกองทัพแห่งอินโดนีเซียเพื่อต่อต้านการเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งของดัช  หลังจากประเทศนี้ได้รับเอกราชในปี 1949 เขาได้เติบโตในหน้าที่การงานด้านทหารเป็นอย่างมากและได้รับการไว้วางใจจากประธานาธิบดีซูการ์โนเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นในปี 1965 มีนายพลหัวซ้ายได้ถูกสังหารหลายคน ขณะเดียวกันนั้นซูฮาร์โตก็ได้กุมอำนาจทางทหารเพิ่มขึ้นก่อนที่จะเขี่ยอดีตผู้ก่อนตั้งอินโดนีเซียอย่างซูการ์โนออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นเขาก็เริ่มใช้นโยบายกฎระเบียบใหม่ของเขา และการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ก็ได้เริ่มขึ้น  ได้มีรายงานจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่ามีประชากรประมาณ 500,000-1,000,000 คนถูกฆ่าอย่างทารุน  แต่อย่างไรก็ตามในช่วงการบริหารของเขาเขาได้ทำให้ประเทศมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากจนเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนจากนอกประเทศ

ในปี 1975 เขาได้ให้ทหารบุกยึดติมอร์ตะวันออกตามแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์เพื่อสนับสนุนตะวันตก  และคาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ100,000 คนในการยึดครองตลอดช่วงสองทศวรรษนี้ ถึงแม้จะมีเงินทองหลั่งไหลสู่อินโดนีเซียเป็นอย่างมาก  แต่เงินส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในวังวนแห่งการคอรัปชั่นที่กำขยายตัวกลืนกินประเทศนี้อยู่  โดยคนส่วนใหญ่จำนวนมากมิได้รับผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตดังกล่าวเท่าควร และแล้วเมื่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1997 ทำให้อินโดนีเซียทรุดลงไปอย่างมากประกอบกับมีกระแสต่อต้านการปกครองของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเขาจำต้องลงจากอำนาจที่เขาถือครองอย่างยาวนานถึงสามทศวรรษเมื่อ เดือนพฤษภาคม 1998


เมื่อไม่มีอำนาจความจริงหลายอย่างที่ซ่อนอยู่ก็ได้เปิดเผยออกมา ข้อกล่าวหาหลักๆที่เขาได้รับและต้องขึ้นสู่ศาลก็คือเรื่องการคอรัปชันและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ถึงแม้อย่างแรกจะไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ก็ตาม(ทางการอินโดฯ)ความร่ำรวยมหาศาลของครอบครัวเขาก็ยังเป็นที่จับตา หลังจากเขาหมดอำนาจเขาก็ต้องเข้าๆออกๆเพื่อทำการรักษาสุขภาพที่ย่ำแย่  แม้ว่าจะต้องมีคดีความที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเขาก็มิเคยได้ถูกนำตัวขึ้นศาลแม้แต่เพียงครั้งเดียว  เนื่องมาจากศาลสูงแห่งอินโดนีเซียลงความเห็นว่าเขาป่วยอย่างถาวรและไม่เหมาะสมที่จะมาขึ้นศาล

เมื่อในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเขาได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเข้ารักษาตัวตั้งแต่นั้น  ถึงแม้ต่อมาเขาได้ทำให้หลายคนประหาดใจเมื่อเขาได้ฟื้นจากอาการโคมาจนแพทย์ที่ทำการรักษาเตรียมตัวที่จะให้เขาเดินทางกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้  แต่แล้ววันเวลาบนโลกใบนี้ต้องหมดไป คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าเขานี่แหละเป็นผู้สร้างอินโดนีเซียให้เจริญก้าวหน้างอย่างที่สุด และเขาคนเดียวกันนี้ที่ทำให้มันแย่ลงไปเช่นเดียวกัน  ถึงแม้เขาจะไม่ได้รับการพิพากษาคดีความต่างๆที่เขามีติดตัวในโลกนี้  ทว่าแน่นอนที่สุดเขาก็ต้องได้รับการสอบสวนพิพากษาในสิ่งที่เขาได้ทำเอาไว้ในโลกหน้าอย่างแน่นอน




Posted by P.H.S. , ผู้อ่าน : 757 , 00:12:13 น.   

         อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตจอมเผด็จการปกครองประเทศด้วยกำปั้นเหล็กมานาน 32 ปี ถึงแก่อนิจกรรมแล้วด้วยวัย 86 ปี เนื่องจาก หัวใจ ตับ ปอดล้มเหลว ความดันเลือดลดลง ในขณะที่อดีตประธานาธิบดีผู้นี้ถูกกล่าวหาว่า เป็นจอมโกงกินแห่งศตวรรษ ยักยอกเงินหลายพันล้านดอลลาร์ และรัฐบาลอินโดฯ กำลังฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1,400 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดรัฐบาลอินโดฯ ประกาศลดธงชาติครึ่งเสา 7 วัน เพื่อไว้อาลัยแล้ว

      เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ซูฮาร์โตอดีตประธานาธิบดี แห่งอินโดนีเซีย ถึงแก่อนิจกรรมแล้วด้วยวัย 86 ปี สาเหตุมาจากอวัยวะภายในล้มเหลว ทั้งหัวใจ ตับ ปอด หลังจากที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเปอร์ตามินา มาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา โดยอดีตประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ได้ล่วงลับเมื่อเวลา 13.10 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งก่อนที่อดีตประชาธิบดีจะล่วงลับ ลูกทั้ง 6 คน ได้รีบมาเยี่ยมดูอาการหลังจากที่ทราบว่าพ่อมีอาการทรุดหนัก ทั้งนี้ ซูฮาร์โต ล้มป่วยลงจากอวัยวะหลายชิ้นส่วนล้มเหลวครั้งแรกเมื่อสัปดาห์เศษที่ผ่านมา หลังจากนั้นอาการกลับดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และแพทย์บอกเมื่อวันเสาร์ ที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า ซูฮาร์โตสามารถหายใจได้เองแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเครื่องช่วยหายใจนั้นเป็นเพียงส่วนเสริม หากอาการแย่ลงเท่านั้น



        อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ก้าวลงจากอำนาจหลังปกครองประเทศมายาวนานถึง 32 ปี ในปี ค.ส.1998 และถูกกล่าวหาว่า เป็นหนึ่งในผู้โกงกินแห่งศตวรรษ กรณียักยอกเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ให้กับตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนพ้องขณะอยู่ในอำนาจ อย่างไรก็ตาม อดีตผู้นำจอมเผด็จการของอินโดนีผู้นี้ ก็ไม่เคยถูกนำตัวเข้าสู่การพิจารณาคดีคอรัปชั่นแต่อย่างใด โดยอ้างเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสุขภาพทำให้ยังไม่พร้อม ในขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก ซูฮาร์โตเป็นเงินจำนวน 1,400 ล้านดอลลาร์ ในข้อหาใช้เงินมูลนิธิที่เขาเป็นประธานผิดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ซูฮาร์โตเคยถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2006 เนื่องจากมีอาการเลือดออกในลำไส้ และต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานเกือบเดือน ต่อมามีรายงานว่า ศพของ ซูฮาร์โตได้ถูกเคลื่อนย้ายจากโรงพยาบาลเปอร์ตามินา ในกรุงจาการ์ตา เมื่อเวลา 14.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น ไปยังบ้านพักของเขาในเขตเมนเต็งของกรุงจาการ์ตาแล้วโดยบรรดาผู้มีเกียรติเตรียมเดินทางไปร่วมเคารพศพที่บ้านพักดังกล่าวจำนวนมาก ส่วนประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ขอสวดอ้อนวอนในนามของประเทศ รัฐบาลและประชาชนให้วิญญาณของ ซูฮาร์โตซึ่งถึงแก่อนิจกรรมในวัย 86 ปี ไปสู่สุคติ พร้อมกับได้สั่งให้สำนักงานข้าราชการลดธงชาติลงครึ่งเสาเพื่อร่วมไว้อาลัยรวม 7 วัน ในขณะที่ประชาชนหลายร้อยคนแออัดยัดเยียดกันบริเวณข้างถนน ซึ่งปิดการจราจรนับตั้งแต่ข่าวการถึงแก่อนิจกรรมของอดีตผู้นำรายนี้เผยแพร่ออกไป ส่วนศพของ ซูฮาร์โตรายงานแจ้งว่า จะถูกฝังที่สุสานประจำครอบครัวบนเกาะชวา ห่างจากเมืองโซโลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร และพิธีจะมีขึ้นในเช้าวันจันทร์ที่ 28 ม.ค.นี้ สำหรับพื้นที่บริเวณด้านหน้าบ้านพักของอดีตประธานาธิบดี ถูกเว้นไว้เพื่อเตรียมไว้ให้บรรดาผู้มีเกียรติและญาติๆ จะมาเคารพศพของซูฮาร์โตในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้ ในจำนวนนั้นประกอบด้วยประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน และรองประธานาธิบดียูซุฟ คัลลา ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่าทั้งสองคนจะเดินทางมาถึงในเวลาประมาณ 16.00 น.

        ส่วน ประวัติของ ซูฮาร์โตเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1921 จากครอบครัวยากจน บิดาเป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อยในชวากลาง เขาเข้ารับราชการทหารตั้งแต่อายุ 19 ปี ที่ยศสิบโทช่วงที่อินโดนีเซียซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ ขณะที่ถูกญี่ปุ่นรุกรานในปี 1942-45 ต่อมาเขาเข้าร่วมกับนักรบกองโจรอินโดนีเซียต่อต้านกองทัพเนเธอร์แลนด์ ซูฮาร์โตก้าวสู่อำนาจด้วยการนำกองทัพก่อรัฐประหารนายพลซูการ์โน ในปี 1965 “ซูฮาร์โตวางและดำรงฐานอำนาจการปกครองส่วนกลางผ่านสายทหาร และการใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้อินโดนีเซียในช่วงสงครามเย็นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตะวันตกทั้งเชิงเศรษฐกิจและการทูต ส่งให้อินโดนีเซียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างแข็งแกร่ง แต่อีกด้านหนึ่งการปกครองของ ซูฮาร์โตก็นำไปสู่การกวาดล้างชาวอินโดนีเซียที่เป็นคอมมิวนิสต์ รวมถึงชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนหลายแสนคน และออกกฎหมายคว่ำบาตรพรรคคอมมิวนิสต์และชาวจีนที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ
         จนกระทั่งทศวรรษที่ 1990 การปกครองแบบเผด็จการและถูกกล่าวหาว่ามีการคอรัปชั่นอย่างมโหฬารนำไปสู่ความไม่พอใจของคนในประเทศ โดยเฉพาะหลังยุควิกฤติค่าเงินในเอเชียกดให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียตกต่ำลง กระทบทั้งคุณภาพชีวิตประชาชนและอำนาจบริหารทั้งทางทหาร การเมืองและสถาบันทางสังคม นำไปสู่การเดินขบวนประท้วงของคนในประเทศบีบให้ ซูฮาร์โตลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1998 ในที่สุด



ซูฮาร์โต: ผู้นำเศรษฐกิจอาเซียน

ความรู้สึกชาตินิยมดำรงอยู่โดยทั่วไปในความรู้สึกของคนอินโดนีเซีย เนื่องจากตั้งแต่สมัยอาณานิคม เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคนี้เกือบทุกประเทศ อินโดนีเซียเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ ประกอบกับในอดีต ฮอลแลนด์ได้ใช้จีนเสมือนเป็นพ่อค้าคนกลางในการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรจำนวนมากถูกดูดซับไปยังประเทศเหล่านี้ ทำให้ความยากลำบากเกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศ จากเหตุการณ์ทั้งหมด ทำให้เกิดขบวนการปลดแอกเพื่อต่อสู้กับประเทศอาณานิคมเหล่านั้น (รวมทั้งจีนด้วย) แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการแล้ว ตะวันตกก็ไม่ยอมรับและสนับสนุนอินโดนีเซียว่าเป็นประเทศเอกราชจริง

ยุคหลังอาณานิคมของประเทศอินโดนีเซียค่อนข้างขรุขระพอสมควร ทำให้พรรคของผู้นำในขณะนั้นคือซูการ์โน ต้องอาศัยเครื่องมือชาตินิยมในการสร้างชาติ มีระบบการเมืองแบบ guided democracy ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่มีการชี้นำจากผู้นำโดยตรง (ต้องอาศัยผู้นำที่เข้มแข็งและเป็นเผด็จการมาก) ความสัมพันธ์ระหว่าประเทศในตอนนั้นไม่ราบรื่นนัก โดยเฉพาะกับประเทศมาเลย์เซีย ที่อินโดนีเซียมองว่าเป็นตัวแทนของอาณานิคมตะวันตกที่ยังดำรงอยู่ในภูมิภาค ทำให้นโยบายต่างประเทศในช่วงนั้นเป็นนโยบายแบบเผชิญหน้า หรือ confrontasi จากเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศนั้น ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยาก นโยบายทางเศรษฐกิจในช่วงนั้นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ภัยคอมมิวนิสต์และความเข้มแข็งของจีนที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุค 1960 ทำให้พรรคคอมิวนิสต์ในอินโดนีเซียพยายามขึ้นมามีอำนาจภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดจลาจลและการใช้กำลังอยู่หลายที่หลายแห่ง ผู้นำคนใหม่ที่ขึ้นมาคือนายพลซูฮาร์โต ที่เป็นนักปฏิบัตินิยม (pragmatist)ด้วยความต้องการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศ ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาประเทศตะวันตกเพื่อสร้างความสงบสุขภายในประเทศ จะเห็นได้ว่าสังคมทางการเมืองระหว่างประเทศของอินโดนีเซียเปลี่ยนไป นั่นคือมองตะวันตกเป็นมิตรมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ทั้งที่ประเทศเคยบอบช้ำจากลัทธิอาณานิคมมาก่อน

การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคของซูฮาร์โต ในความเห็นของผม เชื่อว่าเป็นไปได้มากกว่าสมัยของซูการ์โน เพราะ ความมั่นคงภายในทั้งจากคอมมิวนิสต์เองหรือจากกลุ่มการเมืองอื่น ๆ เริ่มนิ่ง ประกอบกับตัวของซูฮาร์โตเองที่ pro ตะวันตกเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดชุดนโยบายที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัย model การพัฒนาอย่างตะวันตก โดยเชื่อว่า หากมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างตะวันตกแล้ว ความยากจนในประเทศก็จะลดลง การคุกคามของภัยคอมมิวนิสม์ก็สามารถลดลงได้ เรียกได้ว่ายุคของซูฮาร์โตคือยุคที่เรียกว่า NEW ORDER หรือระเบียบใหม่ของประเทศได้อย่างไม่ผิดนัก




ด้วยความเป็นนักปฏิบัตินิยมและนิยมชาติตะวันตกอย่างมากของผู้นำท่านนี้ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในมิติอื่น ๆ เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การมีสิ่งที่เรียกว่า national resilience หรือการที่เน้นการเพิ่มสวัสดิการของประชาชนในประเทศ พึ่งพาความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก การเพิ่มความร่วมมือในกรอบพหุภาคีมากขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือคือกรอบความร่วมมือ ASEAN เป็นเครื่องมือหลัก (และเรียกได้ว่าอินโดนีเซียใช้ ASEAN เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมาตลอด) รวมถึงการเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ ให้สัมปทานแก่นายทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ทรัพยากรในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติที่ประเทศมีอยู่มาก แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อวิจารณ์อยู่มากว่าการให้สัมปทานนั้นไม่โปร่งใสอยู่มาก (มีสถิติว่าซูฮาร์โตติดอันดับผู้นำที่คอรัปชั่นมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง) ในช่วงที่เศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ทำให้บทบาทของผู้นำท่านนี้ยิ่งชัดและมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในเวทีโลก ดังจะเห็นได้จากการเป็นผู้นำในเวทีความร่วมมือในภูมิภาคอย่าง ASEAN เอง หรือเวทีระดับโลกอย่าง NAM (Non-aligned movement กลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในสงครามเย็น) สำหรับบทบาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซูฮาร์โตมีภาพที่ชัดและทวีความสำคัญในการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจนหนึ่ง โดยใหอินโดนีเซียเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม APEC ครั้งที่สอง และออก Bogor Declaration ขึ้นในปี 1994 โดยประกาศว่าจะมีการทำ FTA ระหว่างประเทศสมาชิกภายในปี 2010 สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และภายในปี 2020 สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าบทบาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของซูฮาร์โตเริ่มชัดเจนขึ้น



          แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็นผู้นำของซูฮาร์โตก็ต้องหมดลง หลังจากเป็นประธานาธิปดีนานถึง 31 ปี เพราะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997 ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในตัวของรัฐบาลและผู้นำว่าไม่สามารถแก้ไขวิกฤติได้ ทำให้อำนาจทางการเมืองสิ้นสุดลง ช่วงเวลา 31 ปีของการครองความเป็นผู้นำของซูฮาร์โตนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงความเป็น พี่ใหญ่ ของผู้นำท่านนี้ได้ และคุณปการต่าง ๆ ที่ผู้นำท่านนี้ได้มอบไว้แก่ภูมิภาคเรา รวมถึงมิติทางเศรษฐกิจอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วด้วย

www.learners.in.th/blogs/posts/127286
wikipedia.org/wiki/