วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บริษัทอินเดียตะวันออก (หรือเรียกว่า บริษัทการค้าอินเดียตะวันออก, บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ และในเวลาต่อมา บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน)



ธงของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนหลังปี ค.ศ. 1801
บริษัทอินเดียตะวันออก (หรือเรียกว่า บริษัทการค้าอินเดียตะวันออก, บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ และในเวลาต่อมา บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน) เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ ซึ่งก่อตั้งขึ้น บริษัทได้รับพระราชทานอนุญาตจากพระมหากษัตริย์อังกฤษ ภายใต้ชื่อ ผู้ว่าการและบริษัทพ่อค้าแห่งการค้าจากลอนดอนไปยังอินเดียตะวันออกโดย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1600 หลังจากการแข่งขันกับบริษัทอังกฤษที่เป็นซึ่งท้าทายการผูกขาดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทั้งสองบริษัทได้รวมเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 1708 เพื่อจัดตั้ง สหบริษัทพ่อค้าแห่งการค้าระหว่างอังกฤษกับอินเดียตะวันออกหรือที่เรียกกันในภาษาปากว่า บริษัทจอห์น

ดินแดนอาณานิคมของดัตช์ ที่มีดินแดนในปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์จะเป็นสีเขียวอ่อน




บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company หรือภาษาดัตช์ที่สะกดแบบเก่า Vereenigde Oostindische Compagnie or VOC หมายถึง United East Indian Company แปลว่า "สหบริษัทอินเดียตะวันออก") ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1602) เมื่อรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ (States-General of the Netherlands) มอบสิทธิขาดเป็นเวลา 21 ปีในการปฏิบัติงานกิจการอาณานิคมในทวีปเอเชีย นับว่าเป็นความร่วมมือของหลากหลายชาติครั้งแรกในโลกและเป็นบริษัทแรกที่ออกหุ้น













การก่อตั้งและการขยายตัว
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ถือกำเนิดขึ้นด้วยการร่วมทุนของพ่อค้าและนายธนาคารดัตช์ที่ไม่พอใจต่อการผูกขาดการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกส ซึ่งครอบครองเส้นทางการเดินเรือสู่เอเชียและผลผลิตเครื่องเทศ บริษัทฯ อยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการใหญ่ 17 คน ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลดัตช์ให้มีอำนาจผูกขาดการค้าเครื่องเทศในตะวันออก รวมถึงให้สามารถยึดครองดินแดนโพ้นทะเลที่ไดก็ได้ตามที่บริษัท ฯ เห็นชอบ
หลังก่อตั้งบริษัท ฯ ไม่นาน กองเรือของบริษัทฯ สามารถกำจัดเรือโปรตุเกสและยึดดินแดน เมืองท่าที่โปรตุเกสครอบครองอยู่ในเอเชีย ตั้งแต่ ศรีลังกา มะละกา จากนั้นใน พ.ศ. 2162 ได้ตั้งสำนักงานใหญ่ในเอเชียตะวันออกที่เมืองจาการ์ตา ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตาเวีย (Batavia) ตามชื่อเผ่าโบราณของชาวดัตช์ โปรตุเกสยังต้องสูญเสียหมู่เกาะเครื่องเทศหรือ โมลุกกะ (Moluccas) หรือมะลูกู (Maluku) แก่ดัตช์ ทำให้ผลผลิตเครื่องเทศสำคัญเช่น พริกไทย กระวาน กานพลู จันทน์เทศ อยู่ภายใต้การผูกขาดของดัตช์ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังมีบทบาทในการจัดซื้อสินค้า ผลผลิตจากอาณาจักรต่าง ๆ เช่น ปัตตานี กัมพูชา อยุธยาหรือสยาม เวียดนาม จีนและญี่ปุ่น หลายครั้งได้ใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าที่อาณาจักรเหล่านั้นต้องการเช่น ปืนใหญ่ ปืนไฟแบบตะวันตกแลกกับผลผลิตพื้นเมือง
ในช่วง 50 ปีแรก บริษัทฯ มีเรือในเอเชียทั้งสิ้น 40 ลำ ลูกเรือ 5,000 คน จากนั้นตั้งแต่ราว พ.ศ. 2183 เป็นต้นไป เรือได้เพิ่มขึ้นเป็นถึง 150 ลำ เจ้าหน้าที่ลูกเรือรวมกว่า 15,000 คน บริษัทยังคงมีความสำคัญทางการค้าเป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ โดยจ่ายส่วนแบ่งประจำปี 18 % เป็นเวลาเกือบ 200 ปีจนกระทั่งเกิดการล้มละลายและกิจการล้มเลิกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2343 ทรัพย์สินต่างๆ และหนี้ของบริษัทได้ถูกครอบครองแทนโดยรัฐบาลของสาธารณรัฐปัตตาเวีย ดินแดนในครอบครองของบริษัท VOC ได้กลายเป็นหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ และแผ่ขยายออกไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อรวมหมู่เกาะอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกัน และคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงเกิดเป็นบริษัทอินเดียตะวันออก(East India Company) อุบัติขึ้นมาอย่างโดดเด่น ทาบทับอยู่บนเงาของโลกสมัยใหม่ เป็นบริษัทแรกที่มีทุนจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด สำหรับผู้ถือหุ้น และบริษัทอินเดียตะวันออกนี้นี่เองที่ได้สร้างพื้นฐานของจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) มันคือผู้ผลิตพนักงานบริษัท และข้าราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลานั้น นอกจากนั้นมันยังเป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้เป็นเครื่องหมายที่ประทับรอยไว้ในโลก ยี่สิบปีที่ผ่านมาเมื่อรัฐบาลอังกฤษ(สมัยนางมาร์การเรต แทชเชอร์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้รื้อทิ้งการสนับสนุนบริษัทเพื่อการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจโดยการแปรรูปและลดกฏระเบียบ ขายกิจการรัฐวิสาหกิจออกไปให้มหาชน และขณะนั้นดูเหมือนว่ากิจการลูกผสมระหว่างรัฐและเอกชน(รัฐวิสาหกิจ)กำลังจะตายไป --แต่ในปัจจุบันมันกลับมาฟูเฟื่องขึ้นอีกครั้ง ในประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่เศรษฐกิจคึกคักและกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตัวละครสำคัญในโลกาภิวัตน์ บริษัทของรัฐที่ควบคุม  80% ของมูลค่าการลงทุนในตลาดทุนของจีน ลงทุนในตลาดทุนกว่า 60% ของรัสเซีย และ 35% ของบราซิล  เมื่อรวมกันแล้วนับว่าเป็น 19 ใน 100 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกและในประเทศจีนมีบริษัทใหญ่ระดับโลกในทุกๆอุตสาหกรรม เป็นต้นว่าบริษัทไชน่าโมบายมีลูกค้าถึง 600 ล้านคน บริษัท SABIC ของซาอุดิอารเบียเป็นบริษัทเคมีที่ทำกำไรมากที่สุดในโลก สายการบินเอมิเรตมีการเติบโตถึงร้อยละ 20% ต่อปี และบริษัทน้ำมันและแหล่งก๊าซธรรมชาติที่รัฐควบคุม เป็น13 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น บริษัทเหล่านี้จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่กำลังรุ่งเรืองมีการเจริญเติบโตอยู่ที่ 5.5% ต่อปี เทียบกับประเทศที่เจริญแล้วที่มีเพียง 1.6% และ โมเดล "รัฐบริษัท" นี้กำลังเป็นที่นิยมกันมากในขณะนี้ โดยมีจีนและรัสเซียเป็นผู้นำแฟชั่น ที่ใช้อำนาจรัฐในการผลิตแชมป์ในยุทธศาสตร์การเติบโตทางอุตสากรรม ความคล้ายคลึงระหว่างรัฐบริษัทกับบริษัทอินเดียตะวันออกจะว่าไปก็ไม่เหมือนกันเสีย


ทีเดียว เนื่องจากบริษัทอินเดียตะวันออกนั้นมีกำลังทหารเป็นของตนเองถึง 200,000 คน(แต่เรียกว่า Royal Navy) มากกว่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป ซึ่งไม่มีบริษัทของรัฐในปัจจุบันทำได้เช่นนั้น แม้แต่บริษัท ไชน่าออฟชอร์ออยล์ คอร์เปอเรชัน (CNOOC) ของจีนที่รัฐเป็นเจ้าของยังต้องจ้าง อดีตกองทหารปลดปล่อยแห่งชาติของประเทศซูดานเป็นผู้คุ้มครองการทำงานของบริษัท ในขณะที่รัฐบาลอังกฤษในอดีตแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท (แต่แน่นอน สมาชิกของพระราชวัง ข้าราชบริพาร และนักการเมืองคนสำคัญๆ เป็นหุ้นส่วน) แต่ปัจจุบันรัฐบริษัทคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือไม่ก็ให้บริษัทที่พวกเขาชื่นชอบเป็นตัวแทน
                นอกจากนั้นไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย นั่นคือทั้งบริษัทและผู้รับมรดกในสมัยใหม่ของพวกเขารับใช้สองเจ้านายหนึ่งนั้นคอยจับตามองดูราคาหุ้นสำหรับผู้ลงทุน.. อีกหนึ่งคือดูแลผลประโยชน์ของผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลัง และรัฐบริษัทเป็นจำนวนมากทุกวันนี้มีการผูกขาด หรือกึ่งผูกขาดในธุรกิจ เช่นบริษัท Petrobras ของบราซิล China Mobile ของจีน ตลอดจนบริษัทก่อสร้างและวิศวกรรมต่างๆที่เป็นของรัฐ นอกจากนั้นยังมีการไฟฟ้าแห่งชาติของแมกซิโก  และบริษัทยักษ์ใหญ่อีกมากมาย ที่กระตือรือร้นและพร้อมจะกระโจนเข้าไปต่อสู้และเป็นส่วนหนึ่งของการเสี่ยงในตลาดโลก และพวกเขาเหล่านั้นต้องการที่จะให้รัฐบาลของตนสนับสนุนทั้งด้านเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำและมีกฎกติกาง่ายๆ(soft loan) ตลอดจนการช่วยเหลือด้านการใช้ความสามารถด้านการทูต นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่นถนนหนทาง โรงพยาบาล โรงเรียน เพื่อการันตีความมั่นคงและต่อเนื่องทางด้านวัตถุดิบและประสิทธิภาพด้านแรงงาน
ถึงแม้ว่าบริษัทอินเดียตะวันออกจะรุ่งเรืองเป็นเวลานาน โลกในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันมาก การเจริญเติบโตอันยาวนานและการล่มสลายไปของมัน เป็นบทเรียนที่ต้องถกเถียงกันสำหรับอนาคตที่เชื่อมโยงกับรัฐบริษัทในปัจจุบันว่าเป็นประโยชน์หรือให้โทษกับประเทศมากน้อย

             อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในตะวันออกในปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา ใน ค.ศ.1588 อังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I ค.ศ.1558-1603) ได้ทำสงครามกับสเปนและสามารถรบชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (Armada) อันเกรียงไกรของสเปนได้ ชัยชนะดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้อังกฤษเดินทางแสวงหาผลประโยชน์ในการค้าและสร้างอิทธิพลในตะวันออก และ ค.ศ.1591 อังกฤษได้ส่งกองเรือเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปมายังอินเดียเป็นครั้งแรก และใน ค.ศ.1600 บริษัทอินเดียตะวันตกออกของอังกฤษก็ได้รับพระราชทานกฏบัตร (Charter) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคบมาเจลลัน ต่อมาอังกฤษสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุมมหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย นับตั้งแต่นั้นอังกฤษก็กลายเป็นคู่แข่งขันในทางการค้ากับฮอลันดาในตะวันออก อย่างไรก็ดีหลัง ค.ศ.1660 เป็นต้นมา อังกฤษได้ทำสงครามชนะฮอลันดาและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจยุโรปอีกประเทศหนึ่งที่จะควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก แต่ฮอลันดายังควบคุมช่องแคบมะละกาและมีอำนาจในการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินดิสตะวันออกต่อไป
หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษเข้ามามีบทบาทแทนบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษแล้ว รัฐบาลอังกฤษดำเนินนโยบายสร้างอิทธิพลในตะวันออกอังกฤษอย่างเต็มที่โดยยึดดินแดนต่างๆเป็นอาณานิคมของตน เช่น อินเดีย พม่า มลายู สิงคโปร์

บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
ในปี ค.ศ. ๑๖๐๐ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์แห่งโมกุล บริษัทการค้าเอกชนของอังกฤษได้รับสัมปทานบัตรจากพระราชินีเอลิซเบ็ธที่๑ ให้มีสิทธิผูกขาดการค้าภายในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งรวมอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย บริษัทนี้มีชื่อว่า “The Governor and Company of Merchants of London Trading into the East India” ต่อมาได้รู้จักกันในนามว่า “East India Company” หรือ บริษัทอินเดียตะวันออก
              ในปี ค.ศ. ๑๖๒๓ บริษัทฯเกิดการขัดผลประโยชน์กับพวกดัตช์ในอินโดนีเซีย อังกฤษจึงหันความสนใจมายังจีนและอินเดียโดยนำนโยบาย country trade คือนำสินค้าจากประเทศทางตะวันออกมาขายให้พวกตะวันออกด้วยกันโดยอังกฤษเป็นพ่อค้าคนกลาง ในคริสตศวรรษที่ ๑๗ อังกฤษยังค้าขายอยู่ในวงแคบ ใน ค.ศ.๑๖๔๗ อังกฤษจึงมีสถานีการค้าอยู่ในอินเดียเพียง ๒-๓ แห่งเท่านั้น ซึ่งในปี ๑๖๓๙ อังกฤษได้รับอนุญาตจากพระเจ้าจาฮากีร์ ให้ตั้งสถานีสินค้าแห่งแรกที่เมืองมัทราส (Madras) ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๖๖๒ พระเจ้าชาล์สที่ ๒ ได้รับสิทธิในเมืองบอมเบย์มาจากโปรตุเกสโดยเป็นสินสมรสจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโปรตุเกส และพระองค์ได้ให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเช่าสิทธิในปี ๑๖๖๕ ในอัตราปีละ ๑๐ ปอนด์ ต่อมาในปี ๑๖๙๐ บริษัทฯได้รับอนุญาตจากพระเจ้าโอรังเซ็บให้ตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มใกล้ปากแม่น้ำคงคาซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นเมืองกัลกัตตา(Calcutta) บริษัทฯได้สร้างป้อมในเมืองท่าต่างๆ ได้แก่ เมืองมัทราส บอมเบย์ และกัลกัตตา โดยมีประธานและคณะกรรมการของบริษัทอยู่ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อถึง ค.ศ. ๑๗๐๗ พระเจ้าโอรังเซ็บสิ้นพระชนม์ก็ยังไม่มีบริษัทยุโรปใดๆที่พยายามขยายอำนาจออกไปจากเมืองท่าที่ตนเองมีสถานีสินค้าอยู่เพียงไม่กี่แห่ง
บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส
ในช่วงเวลาใกล้ๆกับที่บริษัทฯของอังกฤษเริ่มเข้ามาตั้งสถานีในอินเดีย บริษัทของชาวดัตช์ซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๖๒๐ โดยมีสถานีการค้าที่ชายฝั่งเมืองมัทราสและที่ใกล้กัลกัตตาและต่อมาบริษัทของดัตช์ก็ขายให้แก่บริษัทอังกฤษใน ค.ศ. ๑๘๔๕ ชาวยุโรปคู่แข่งกับอังกฤษในอินเดียคือฝรั่งเศส ก็ได้ตั้งบริษัทของรัฐบาลฝรั่งเศสโดยโคลแบร์เสนาบดีและที่ปรึกษาของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ บริษัทฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจึงมีฐานะเป็นองค์กรของรัฐมากกว่าอังกฤษ ต่อมาฝรั่งเศสก็เข้ายึดพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองมัทราสและสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ปอนดิเชอรี ซึ่งเมืองนี้เป็นที่มั่นสำคัญของฝรั่งเศส
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๗๐๗ ที่พระเจ้าโอรังเซ็บสิ้นพระชนม์เป็นต้นมา บริษัทฯของอังกฤษกับฝรั่งเศสก็เริ่มช่วงชิงความเป็นใหญ่จนมาถึงจุดเดือดในปี ๑๗๕๗ ได้เกิดสงครามระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่เมืองพาสซีในแคว้นเบงกอลและเป็นจุดเริ่มต้นการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอังกฤษเหนือแผ่นดินอินเดียแต่ผู้เดียวในเวลาต่อมา
ฮอลันดา (ดัช) สนใจประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องเทศที่มีคุณภาพ ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศและกาแฟ จากการแข่งขันทางการค้าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศตวรรษที่ ๑๖ ๒๐) ทำให้ รัฐบาลฮอลันดาร่วมทุนกับบริษัทของการค้าใหญ่ตามเมืองท่าต่าง ๆ ของฮอลันดา ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ขึ้นในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๐๒ ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่บันทัม เนื่องจากนโยบายของผู้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ พ่อค้าคนแรกของดัชคือ สตีเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเช่นที่เกาะเทอร์เนตใน หมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัม และกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี ยะโฮร์บนแหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา (ดี.อี.จี. ฮอลล์, ๒๕๔๙ : ๒๙๖)

การขยายอำนาจและการปกครองในระบบเศรษฐกิจ
 ดัชปกครองอินโดนีเซียแบ่งได้เป็น ๒ ระยะดังนี้
                 ๑. ระยะเศรษฐกิจ ระยะแรกเริ่ม
                ในระยะแรกเริ่ม ดัชสนใจเพียงแค่การค้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้สนใจครอบครองดินแดน การผูกขาดการค้าเครื่องเทศ ในหมู่เกาะเครื่องเทศ ผูกขาดการค้าข้าวในชวา และการผูกขาดการค้าอื่น ๆ ได้ผลเป็นอย่างดี ไม่มีความจำเป็นจะต้องครอบครองดินแดนแต่อย่างใด
                การใช้นโยบายผูกขาดทางการค้าไปพร้อม ๆ กับ ขจัดอิทธิพลของชาติอื่นคือ โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ โดยเสนอผลประโยชน์ให้สุลต่านในการทำสัญญาผูกขาดเครื่องเทศ ให้เงินตอบแทนและขายอาวุธให้ ขยายอำนาจทางการค้าไปยังดินแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่เกาะเครื่องเทศ พร้อม ๆ กับคุกคามโปรตุเกสให้ถอนกำลังทางการค้าในบริเวณถูมิภาคนี้ อีกทั้งปราบปรามอังกฤษให้ให้แข่งขันทางการค้า
                ใช้วิธีการปกครองแบบ Priangan System แบ่งดินแดนการปกครองออกเป็นเขต ๆ แต่งตั้งหัวหน้าชาวพื้นเมืองของแต่ละเขตเรียกว่า Regent มีหน้าที่ควบคุม ดูแลชาวพื้นเมืองเพาะปลูก และส่งผลผลิตให้กับ V.O.C. ในราคาที่บริษัทกำหนดไว้ Regent จะไม่ได้รับเงินเดือน แต่จะได้รับสิทธิทางภาษีจากประชาชนในเขตการปกครองของตน ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทว่าต้องจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการชาวพื้นเมือง แต่การจัดการปกครองแบบนี้ทำให้ Regent แต่ละคนมีอำนาจมาก มักทำอะไรตามอำเภอใจ ดำเนินกิจการต่าง ๆ เป็นอิสระ Regent นานวันนับมีอำนาจมากยิ่งขึ้น เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันเอง กดขี่ชาวพื้นเมือง ในภายหลังบริษัทจึงเข้าแทรกแซง และควบคุมการตรวจสอบพวก Regent นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ฮอลันดาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายใน และเริ่มใช้นโยบายควบคุมดินแดน (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๕ ๘๖)
                อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มแรกนี้ ๆ การผูกขาดทางการค้าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง ดัชทำการปกครองทางอ้อม ปล่อยให้ชาวพื้นเมืองปกครองตนเองของครอบครัวและหมู่บ้านที่เรียกว่า เดสา (Dasa) ตามกฎหมายและจารีตประเพณีพื้นเมือง อะดาท (Adat) ดัชรักษาเพียงผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่เนื่องจากการที่ชาวพื้นเมืองลักลอบขายสินค้าให้กับโปรตุเกส อังกฤษ สเปนและอาหรับ เนื่องจากชาติเหล่านี้ให้ราคาสูงกว่า Regent แต่ละคนมีอำนาจมาก เกิดการทะเลาะขัดแย้งกันเอง กดขี่คนพื้นเมือง บริษัทจึงเข้าแทรกแซง และควบคุมการตรวจสอบ อีกทั้งปัญหาโจรสลัดปล้นเรือสินค้าของ V.O.C. จึงทำให้ดัชจึงมีนโยบายควบคุมดินแดนนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ V.O.C.
               
 ๒. การแทรกแซงทางการเมืองและการทำสงคราม
                การทำสงครามและเข้าแทรกแซงทางการเมือง เมื่อคนพื้นเมืองไม่ทำสัญญาทางการค้าก็จะใช้กำลังทางการทหารบีบบังคับ และถ้าดินแดนใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ทางการค้าแก่ฮอลันดา เกิดการแตกแยกภายใน ฮอลันดาจะเข้าแทรกแซงทันที
                ปกครองระบบพาณิชย์นิยม  บริษัทซื้อสินค้าโดนตรงกับคนพื้นเมืองโดยตรง จ่ายเงินให้กับผู้ผลิต เนื่องจากบริษัทมีภาระทางการเงินมาก จึงมอบให้สุลต่านเป็นผู้ดูแล มีการนำระบบบังคับการเกษตรมาใช้ สุลต่านผูกพันสัญญากับบริษัท
                ดัชปกครองชวาอย่างใกล้ชิด ในส่วนท้องถิ่นและเกาะรอบนอก ผู้นำยังคงปกครองต่อไป ตราบเท่าที่การค้ายังคงดำเนินไปตามกฎของบริษัท แต่หากรัฐใดทำผิดกฎ ติดต่อค้าขายกับชาติอื่น ดัชจะลงโทษทันที
                 - บังคับให้ประชาชนเพาะปลูกพืชผลตามที่ฮอลันดาต้องการ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน มีระบบเรือลาดตระเวนฮองงี คอยจับผู้ลักลอบทำการค้า
                 - ชาวพื้นเมืองสามารถขายที่ดินได้ โดยเจ้าของที่ดินจะต้องแบ่งที่ดิน ๑ ใน ๕ ส่วนสำหรับปลูกพืชตามที่รัฐกำหนด
                 - ปรับปรุงการศาล ทุกเขตจะแยก Councils of Justice จากกัน
                 - ปราบปรามคอรัปชั่นของข้าราชการ และโจรสลัด
                ดัชขยายการปกครองไปทั่วดินแดนอินโดนีเซียและเก็บเกี่ยวพืชผลทางเกษตร การแสวงหาผลประโยชน์โดยปราศจากความเมตตา เมื่อดัชย้ายศูนย์กลางการปกครองและการค้าไปอยู่ปัตตาเวีย การปกครองเข้มงวดและรัดกุมมากขึ้น ทำให้ดัชได้เกาะชวาทั้งหมด และมีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองเหนือหมู่เกาะเครื่องเทศ ยกเว้นเพียงมาคัสซาร์

ความเสื่อมของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา
              การแข่งขันทางด้านการค้าในยุโรป การขยายการค้าเกินกำลัง V.O.C. ขยายตัวทางการค้าเข้าไปใน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การค้าในจีนขาดทุ่น ประกอบกับสินค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง ความต้องการสิ่งทอ จากอินเดีย และ ใบชาจากจีนเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชชนิดใหม่เช่นชา กาแฟ แทนการปลูกเครื่องเทศในหมู่เกาะชวา ตั่งแต่บันทัมถึงมาธะรัม จำกัดการเพาะปลูกเครื่องเทศให้น้อยลง คือ ให้ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน ๕ ต้น ใครปลูกมากจะถูกจำคุก (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๐) แต่ก็ไม่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้
                การผูกขาดการค้า ดัชไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ ไม่สนใจสวัสดิการของชาวพื้นเมือง เอารัดเอาเปรียบชาวพื้นเมือง ให้ค่าจ้างแรงงานพื้นเมืองถูก ให้ราคาสินค้าต่ำ ขายสิ้นค้าอุปโภคบริโภคให้ชาวพื้นเมืองแพงการผูกขาดทางการค้าไม่ได้ผลเท่า ที่ควรเนื่องจากมีอังกฤษและพ่อค้าชาวอาหรับเป็นคู่แข่ง อังกฤษและฝรั่งเศสหันมาส่งเสริมคนพื้นเมืองในอาณานิคมของตน เพาะปลุกค้าขายแข่งกับฮอลันดา ทำให้รายได้ของฮอลันดาลดลง ผลจากควบคุมการผลิตไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป สิ้นค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง การผลิตต้องถูกควบคุมโดย V.O.C. กดราคาสินค้าให้ต่ำ คนพื้นเมืองไม่พอใจต่อการบังคับการเพาะปลูก ต้องทำงานหนัก ไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงเกิดการก่อกบฏ อีกทั้งเกิดปัญหาโจรสลัด และการลักลอบขายสินค้า ดัชต้องเสียเงินอย่างมากในการปราบปราม
                เกิดปัญหาทุจริตในแวดวงราชการ ข้าราชการได้เงินเดือนน้อยจึงต้องมีการติดสินบน แอบค้าขาย หารายได้ส่วนตัว และโกงบริษัทด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นซื้อสิ้นค้าจากคนพื้นเมืองถูก ๆ ทั้ง ๆ ที่ดัชให้ราคาถูกอยู่แล้ว แต่กลับเบิกจากบริษัทแพงกว่าราคาซื้อ โกงตาชั่งน้ำหนัก ฯลฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการปราบปราม
                การมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น จึงมีค่าใช่จ่ายมากขึ้นเนื่องจากการขยายดินแดนและควบคุมดินแดนต่าง ๆ จ้างข้าราชการมากขึ้น มีการก่อกบฏหลายครั้ง รัฐเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
                การเปลี่ยนแปลงในยุโรป สงครามปฏิวัติอเมริกา และ การปฏิวัติฝรั่งเศส ทำให้เศรษฐกิจยุโรปชะงักงัน V.O.C. เสียผลประโยชน์ทางการค้า การจ่ายเงินคืนกำไรให้หุ้นส่วนมาก ทั้งที่บริษัทใกล้จะขาดทุน เพราะกลัวหุ้นส่วนถอนหุ้น
                 ในที่สุด บริษัท V.O.C. ต้องล้มละลายลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๗๙๙ รัฐบาลฮอลันดาต้องเข้ามารับภาระในการชำระหนี้สิน มีการส่งข้าหลวงใหญ่เข้ามาปกครองอาณานิคม ทำการปฏิรูปการปกครองใหม่ แต่เมื่อเกิดสงครามนโปเลียนในยุโรป ค.ศ. ๑๘๑๑ ๑๘๑๖ ฮอลันดาต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส อังกฤษจึงต้องเข้ามาดูแลชวา และ หมู่เกาะเครื่องเทศชั่วคราว ภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันของอังกฤษในระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๑๑ ๑๘๑๖ เซอร์ โทมัส แสตนฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stanford Reffles) นายผลผู้ว่าการชวาและเมืองขึ้นอื่น ๆ ได้แนะนำวิธีการปกครองท้องถิ่นด้วยตนเอง การค้าทาสได้ถูกสั่งห้าม ซึ่งในขณะนั้นชาวต่างชาติมักจะมีทาสไว้ครอบครอง ระบบการเช่าที่ดินได้ถูกนำมาใช้แทนกองทหาร (สถานเอกอัคราชทูตอินโดนีเซีย, ๒๕๒๒ : ๒๖) ยกเลิกการผูกขาดการค้าและการบังคับการเพาะปลูก ฟื้นฟูอำนาจสุลต่าน แบ่งชวาออกเป็น ๑๐ เขต มีผู้ปรกครองแต่ละเขตทำหน้าที่บริหารราชการ และทำหน้าที่ตุลาการ เรียกเก็บรายได้ให้รัฐบาล
การปกครองของรัฐบาลฮอลันดารอบที่ ๒ ภายหลังสงครามนโปเลียน
ค.ศ. ๑๘๑๖ อังกฤษคืนชวาให้กับดัช ดัชกลับเข้ามาปกครองอินโดนีเซียอีกครั้ง ซึ่งสถานะทางการเงินยังทรุดหนัก การค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซียไม่มั่นคง รัฐบาลฮอลันดาจึงเข้าปกครองชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศอย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกแซงการปกครองภายใน ทำให้อินโดนีเซียตั่งแต่ ค.ศ. ๑๘๑๖ ถึง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ต้องตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาอย่างสมบูรณ์ (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๓)
                รัฐบาล ฮอลันดาได้จัดตั้งคณะข้าหลวงเข้ามาปกครองอินโดนีเซีย โดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองอาณานิคนที่เรียกว่าRegerrings-reglement รัฐบาลฮอลันดาได้ทดลองปกครองแบบเสรีนิยมที่แรฟเฟิลส์ได้วางเอาไว้ และมีนโยบายสงเสริมสวัสดิการของชาวพื้นเมืองให้ดีขึ้นเนื่องจากแรกงกดดันของ พวกเสรีนิยมในยุโรป ดัชได้ปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเสรีนิยมคือ
                ๑. การเสียภาษีที่ดิน จะเสียเป็นเงินหรือผลผลิตดก็ได้ เก็บเงินเป็นหมู่บ้านหัวหน้าเป็นผู้เก็บ
                ๒. ยกเลิกการบังคับการทำงาน การทำงานจะได้รับค่าตอบแทน
                ๓. ยกเลิกเรือลาดตะเวน กำหนดให้ปลูกพืชบางชนิดเพื่อหารายได้เข้ารัฐ
                ๔.ใช้ระบบการศาลยุติธรรมแบบยุโรป และแบบพื้นเมืองผสมผสานกันตามแบบที่แรฟเฟิลส์วางไว้
                ๕. มีการปฏิรูปการปกครองอย่างแข็งขัน ป้องกันมิให้ชาวพื้นเมืองถูกขูดรีด เช่นออกกฎหมายห้ามชาวยุโรปปลูกกาแฟ ห้ามชาวยุโรปเช้าที่ดินจากชาวพื้นเมือง
                ๖. โจฮันเนส แวน เดน บอส (Johannes Van der Bosch) ได้เสนอระบบเศรษฐกิจวัฒนธรรม (Culture system) คือระบบบังคับการเพาะปลูก ในปี ค.ศ. ๑๘๓๔ - ๑๘๗๗ โดยอาศัยวัฒนธรรมเดิมของชาวพื้นเมืองที่เคารพเชื่อฟังสุลต่าน เพราะสุลต่านเป็นผู้นำทางการปกครองและทางศาสนา มีการกำหนดข้อตกลงกับสุลต่าน ประชาชนปลูกพืชตามที่ยุโรปต้องการ ดัชได้ประโยชน์จากระบบนี้มาก สถานะทางการเงินดีขึ้น
                ระบบวัฒนธรรม เป็นระบบควบคุมหน่วยการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเกื้อหนุนระบบการเพาะปลูกแบบบังคับและระบบบรรณราการ แบบเก่าของรัฐต่าง ๆ ในชวา ซึ่งได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดให้สอดคล้องกับมาตรการการปกครองทาง ภาษีแบบอาณานิคม ที่ดัชพยายามประยุกต์ให้สอดคล้องกับพื้นฐานของวัฒนธรรมและประเพณีการปกครอง ของสังคมชาวพื้นเมืองอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ระบบวัฒนธรรมการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสามารถก่อให้เกิดผลผลิตทางการ เกษตรเพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลกที่มีมากขึ้นตลอดเวลา ระบบวัฒนธรรมจะดำรงอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการควบคมการผลิตโดยตรงและมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ระบบวัฒนธรรมจะควบคุมพืชเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ตามระบบที่ V.O.C. เคยปฏิบัติมาแล้วในอดีต พร้อมกับเน้นประสิทธิภาพในการจัดการทางด้านแรงงานและที่ดินให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น กล่าวโดยสรุป ระบบวัฒนธรรมคือผลลัพธ์ของการฟื้นฟูอิทธิพลของลัทธิพานิชยกรรมนิยม (Liberalism) ในการประกอบการทางเศรษฐกิจ ทั่วดินแดนต่าง ๆ ของดัชนั่นเอง (ภูวดล ทรงประเสริฐ, ๒๕๓๙ : ๑๖๕)
                หลักการของระบบวัฒนธรรม (การบังคับเพาะปลูก)
                ชาวพื้นเมืองสามารถให้ชาวยุโรปเช่า หรือขายที่ดินได้ โดยเจ้าของที่ดินจะต้องกันที่ ๑ ใน ๕ สำหรับปลูกพืชผลตามที่รัฐกำหนด เช่น คราม อ้อย กาแฟ ยาสูบ ฝ้าย เป็นต้น ๑ ใน ๕ ของที่ดินนั้น กันไว้เพื่อเสียภาษีเป็นผลผล
                ๑. ต้องปลูกข้าวตามจำนวนที่รัฐกำหนด พืชผลที่จะส่งไปศูนย์ชั่งน้ำหนัก เมื่อหักค่าเช่าและภาษีแล้ว ส่วนที่เหลือรัฐจะจ่ายให้ในราคาที่ต่ำ แต่ถ้าพืชผลประสบความเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติ รัฐบาลจะเก็บพืชผลเฉพาะฤดูที่ไม่เสียหายเท่านั้น
                ๒.การเพาะปลูกของประชาชน ต้องปฏิบัติตามแนวทางของผู้ควบคุม และข้าราชการฮอลันดา
                ๓.มีการแบ่งแรงงาน ส่วนหนึ่งทำงานเพาะปลูก อีกส่วนหนึ่งทำการเก็บสินค้าและทำการขนส่ง เพื่อกระจายแรงงานออกไป ทำให้รัฐบ้างและทำให้ที่ดินของตนเองบ้าง
                ๔.เน้นความสำคัญในการตกลงกับประชาชน ควบคู่กับเอาวิธีการบีบบังคับมาใช้ และขอความร่วมมือจากนายทุน
                ข้อดี
                ๑. วิธีบังคับการเพาะปลูก ทำให้ชาวพื้นเมืองมีความรู้ความเจริญด้านการเกษตรกรรม มีผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุด ฮอลันดามีผลกำไรมากมาย
                ๒. อัมเตอร์ดัม กลายเป็นตลาดที่สำคัญของสินค้าจากอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเครื่องเทศและพืชผักเมืองร้อน ฮอลันดา กลายเป็นอันดับที่ ๓ ในการขนส่งรองจากอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ฮอลันดาสามารถใช้หนี้สินได้ ฐานะทางการเงินดีขึ้น
                ๓. โดยทั่ว ๆ ไป ผู้คนมีฐานะดีขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่า
                ข้อเสีย
                ๑. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทารุณชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองต้องทำงานหนัก เป็นการบังคับใช้แรงงานในระบบทาส ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน
                ๒. ผู้คนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการเพาะปลูก
                ๓. รายได้จากการเพาะปลูกพืชรัฐเอาไปหมด ส่วนแบ่งที่คนพื้นเมืองได้ ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
                ๔. คนพื้นเมืองค้าขายไม่เป็น คนกลายเข้ามาทำการค้าขาย กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจภายในอินโดนีเซีย
                ๕. ขาดการอุตสาหกรรม ทำให้ขาดดุลทางการค้า เพราะต้องซื้อของจากต่างประเทศ เงินที่ลงทุนคือเงินของรัฐบาลฮอลันดา ฮอลันดาควบคุมเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด
                การ ปกครองของดัชสร้างปัญหาให้กับอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะระบบบังคับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าว เพราะที่ดินที่ควรจะนำมาปลูกข้าวเพื่อใช้บริโภคกลับถูกนำไปปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย ผู้คนค้าขายไม่เป็น สภาพชีวิตของผู้คนแย่ลง กลุ่มเสรีนิยมได้โจมตีระบบนี้อย่างหนัก เกิดขบวนการชาตินิยม เกิดการก่อกบฏชองชาวพื้นเมืองไปทั่วภูมิภาค ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ระบบนี้ได้ถูกยกเลิกเป็นการถาวร
                ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดนีเซียได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ประเทศได้ตกอยู่ในภาวะยากเข็ญ เกิดการเรียกร้องเสรีภาพและเอกราชในการปกครองตนเองทั่วอินโดนีเซีย บุคคลที่มีความสำคัญในการเรียกร้องเอกราชคือ ดร. ซูการ์โน และ ดร.โมฮามัด อัตตา
                ในที่สุด ชาวอินโดนีเซียก็ประสบความสำเร็จ สามารถก่อตั้งสาธารณะรัฐอินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ หลังจากประกาศเอกราชในวันที่ ๑๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๙